บทความวิชาการด้าน จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NCAB)

1) บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

โดลุเทกราเวียร์กับไวรัสดื้อยา

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ แปล

      โดลุเทกราเวียร์ (dolutegravir) เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีกลุ่มอินทิเกรส อินฮิบิเตอร์ (integrate inhibitors) ที่หยุดยั้งไว-รัสเอชไอวีไม่ให้แทรกตัวเข้ากับดีเอ็นเอของเซลล์ของคนได้ ทำให้ไวรัสไม่สามารถทำให้เซลล์อื่นติดเชื้อได้ โดลุเท-กราเวียร์มีสมรรถภาพสูง การดื้อยาเกิดได้ยาก ร่างกายทนต่อยาได้ดี และราคาไม่แพงทำให้โดลุเทกราเวียร์เป็นยาที่ใช้กันแพร่หลายในอาฟริกาและในภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก อ่านต่อ >> 

อ่านบทความอื่นๆ >>

 

2) เวทีชุมชนกับงานวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์

คลังข้อมูล

data32 cover

 

         คู่มือสำหรับคนทำงานเอดส์ 360 องศา จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ที่ดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการในกลุ่มผุ้หญิง และการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลและความยั่งยืน ใน 8 จังหวัด สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม และบูรณาการการดำเนินงานด้านป้องกัน เข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการรังเกียจกีดกันในกลุ่มผู้หญิง ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์สามารถนำคู่มือฯนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงานขององค์กรได้ตามความเหมาะสม <ดาวน์โหลดคู่มือ>

  • แนวทางการการสนับสนุนงบการทำงานด้านเอดส์สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน 14-17 เมนูการทำงาน

การพัฒนาเมนูการทำงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่ดำเนินงานภายใต้งบอุดหนุนด้านเอดส์ มุ่งเน้นตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ คือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการตาย และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ คือ มุ่งให้เห็นผลลัพธ์ (Impact) ของการทำงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นสนับสนุนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีช่องว่างที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นๆ ของประเทศ

รายละเอียด 17 เมนูการทำงาน

  1. Menu 1 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์
  2. Menu 2 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์

ดูข้อมูลอื่นๆ >>

รายงานเรื่องผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง สิทธิทางเพศในวันที่ 28 พย.

เมื่อวานนี้ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน เราได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง สิทธิทางเพศ กับประชาชนใน 4 จุดทั่วกรุงเทพฯ คือ  สวนจตุจักร สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง และสยาม โดยมีกระบวนการสำรวจ 2 กระบวนการ คือ

  1. การแสดงความคิดเห็นบนกระดานสำรวจ
  2. การแสดงความคิดเห็น โดยใช้แบบสำรวจกระดาษ จำนวน 1,200 ชุด แบ่งเป็นจุดละ 300 ชุด

ประเด็นที่ใช้สำรวจความคิดเห็น มี 6 ประเด็น คือ

  1. เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องเพศ
  2. เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ใครๆก็มีได้
  3. คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้
  4. ผู้หญิงยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้
  5. งานบริการทางเพศเป็นอาชีพ
  6. ติดเชื้อเอชไอวีก็ท้องได้

คำถามที่ใช้ในการสำรวจคือ สิทธิทางเพศข้อใดที่ท่านคิดว่า มีความสำคัญมากที่สุด 3 ข้อ 

ผลการสำรวจเรื่องสิทธิทางเพศที่มีผู้ให้คะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ 
ลำดับที่ 1 เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องเพศ   1,720 คะแนน
ลำดับที่ 2 เพศสัมพันธ์ก่อนแต่ง ใคร ๆ ก็มีได้   1,009 คะแนน
ลำดับที่ 3 ผู้หญิง ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้ 952 คะแนน

ข้อสังเกตเบื้องต้นที่ได้จากการสำรวจ

  1. ประชาชนผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิทางเพศของเด็กในการเรียนรู้เรื่องเพศ เพศสัมพันธ์ก่อนแต่ง และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมโดยมีคะแนนมาเป็นสามลำดับแรก

    ซึ่งอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า การทำงานเรื่องเอดส์ที่ผ่านมากว่า 20 ปี ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญในเรื่องทัศนคติของสังคม ในเรื่องการยอมรับเรื่องสิทธิของเด็กในการเรียนรู้เรื่องเพศ การยอมรับว่า การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เช่นเดียวกับเรื่องการยอมรับสิทธิของผู้หญิงที่จะยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้ 
    อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ 

    การทำงานผลักดันให้เกิดการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาให้มีคุณภาพและยั่งยืนยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และการจัดให้มีบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการของรัฐ ยังไม่สามารถทำได้จริง

  2. เมื่อมองไปที่เรื่องอีก 3 เรื่องที่ได้รับความสำคัญน้อยกว่าคือเรื่อง คนเพศเดียวกัน จดทะเบียนสมรสได้ งานบริการทางเพศเป็นอาชีพ และ ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีก็สามารถตั้งครรภ์ได้ 

    ซึ่งอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า สังคมยังให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิในด้านนี้น้อย จึงเป็นความท้าทายของคนทำงานที่จะต้องทำงานเรื่องนี้ต่อไป โดยอาจต้องมีการให้ข้อมูลเรื่อง มาตรการเรื่องการลดความเสี่ยงจากการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกเกิดใหม่ได้ ซึ่งจะทำให้ทารกที่เกิดมามีความปลอดภัย 
    สำหรับเรื่อง สิทธิของคนรักเพศเดียวกัน และผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ ซึ่งเป็นข้อที่ผู้ตอบแบบสำรวจ ตั้งคำถามกลับมามากที่สุดก่อนที่จะตอบ ก็แสดงให้เห็นได้ว่า สังคมยังคงมีคำถาม มีข้อสงสัยและต้องการให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องนี้ให้มากขึ้น เช่นกัน

Go to top