บทความวิชาการด้าน จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NCAB)

1) บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

การขาดประสบการณ์ในการวินิจฉัยซิฟิลิสเพิ่มอัตราการติดเชื้อให้สูงขึ้น

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ แปล

      อัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นในระยะสาม-สี่ปีที่ผ่านมา แพทย์รุ่นปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหานี้มากนักเมื่อเทียบกับแพทย์รุ่นก่อนๆ ในเวปไซต์ Medscape มีบทความเกี่ยวกับการขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสทำให้อัตราการติดเชื้อสูงขึ้น อ่านต่อ >> 

อ่านบทความอื่นๆ >>

 

2) เวทีชุมชนกับงานวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์

คลังข้อมูล

data32 cover

 

         คู่มือสำหรับคนทำงานเอดส์ 360 องศา จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ที่ดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการในกลุ่มผุ้หญิง และการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลและความยั่งยืน ใน 8 จังหวัด สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม และบูรณาการการดำเนินงานด้านป้องกัน เข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการรังเกียจกีดกันในกลุ่มผู้หญิง ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์สามารถนำคู่มือฯนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงานขององค์กรได้ตามความเหมาะสม <ดาวน์โหลดคู่มือ>

  • แนวทางการการสนับสนุนงบการทำงานด้านเอดส์สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน 14-17 เมนูการทำงาน

การพัฒนาเมนูการทำงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่ดำเนินงานภายใต้งบอุดหนุนด้านเอดส์ มุ่งเน้นตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ คือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการตาย และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ คือ มุ่งให้เห็นผลลัพธ์ (Impact) ของการทำงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นสนับสนุนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีช่องว่างที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นๆ ของประเทศ

รายละเอียด 17 เมนูการทำงาน

  1. Menu 1 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์
  2. Menu 2 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์

ดูข้อมูลอื่นๆ >>

ประมวลภาพกิจกรรมชุุมนุมจับตาการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทย - อียู

18-19 ก.ย. 2556 ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่

act17q

จี้คณะเจรจาต้องฟังเสียงประชาชน ยันไม่เอาทริปส์พลัส

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ เครือข่ายภาคประชาสังคม ๒๘ องค์กร ซึ่งรวมตัวกันในนามกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) แถลงข่าวถึงการชุมนุมเพื่อจับตาการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (อียู) ที่ข่วงท่าแพ จ.เชียงใหม่

นายจักรชัย โฉมทองดี รองประธาน FTA Watch กล่าวว่า เครือข่ายภาคประชาชนจับตาการเจรจาการค้ามากว่า ๑๐ ปี แล้ว ซึ่งเป้าหมายของไทยในการเจรจาเอฟทีเอร่วมกับอียูในครั้งนี้ต้องการเจรจาให้เสร็จภายใน ๑๘ เดือน ซึ่งเป็นการเจรจาที่เร็วที่สุดที่ประเทศไทยเคยทำมา ทั้งที่เอฟทีเอสร้างภาระกับประเทศ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดี ดังนั้นคณะเจรจาต้องฟังเสียงประชาชน และต้องศึกษาผลกระทบเพื่อประกอบการเจรจา

          “คณะเจรจาบอกว่าจะฟังเสียงประชาชน แต่เรารู้ว่าอียู กลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจ ไม่ยอมแน่ๆ เราเลยรวมตัวกันที่นี่ เพื่อให้คณะเจรจาออกมายืนยันสิ่งที่พูดว่าจะทำจริง และเราจะติดตามการเจรจาจนนาทีสุดท้าย หากคณะเจรจาเปลี่ยนคำพูด เราจะมาชุมนุมกันอีกครั้ง” นายจักรชัยกล่าว

          นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี แถลงว่า เขาไม่เชื่อคำสัญญาของคณะเจรจาที่ว่าจะไม่เอาทริปส์พลัส หรือการขยายอายุสิทธิบัตรที่เกินไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลก เพราะเรื่องเกษตรเป็นเรื่องใหญ่ โดยที่ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองพันธุ์พืชอยู่แล้ว หากประเทศไทยยอมก็จะมีผลกับประเทศคือ ขยายการผูกขาดเมล็ดพันธุ์

          “หากยอมรับข้อตกลงของอียู จะเป็นการปล่อยให้บริษัทข้ามชาติเข้ามาจดสิทธิบัตรทรัพยากรชีวภาพของเราได้ ทั้งที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพถือเป็นขนาด ๑๐% ของโลก อียูกำลังแย่งชิงทรัพยากรของประเทศ และอนาคตของเกษตรกรไทยอาจต้องเลิกกิจการ” นายวิฑูรย์ กล่าว

          นายสงกรานต์ ภาคโชคดี เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ให้ความเห็นว่า ประชาชนไทยไม่ต้องการการค้าเสรี เพราะเป็นการฆ่าเสรี โดยที่การเจรจาจะทำให้อาหารและยาแพงขึ้น แต่เหล้า บุหรี่จะราคาถูกลง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ฆ่าคนทั้งโลกมากกว่าอาวุธเสียอีก และยังไม่นับที่ลูกหลานจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากเหล้า

          “สินค้าเลวไม่ควรเอามาค้าเสรี เพราะหลักการการค้าเสรีจะทำให้ของขายได้มากขึ้น เหล้าจะถูกลง และจะทำลายสังคมไทยมากขึ้น” นายสงกรานต์ กล่าว

          ด้านนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า การมีกฏหมายที่ให้อายุสิทธิบัตรยา ๒๐ ปีนั้นเพียงพอแล้ว ไม่ควรขยายอีก เพราะผู้ป่วยเรื้อรังไม่ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยโรคไต หรือมะเร็ง จำเป็นต้องใช้ยา ซึ่งการเจรจาเรื่องชีวิตจะเอามาใช้กับการค้าไม่ได้ ดังนั้นต้องเจรจาด้วยความระวังและไม่เจรจาเรื่องทริปส์พลัส

Go to top