บทความวิชาการด้าน จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NCAB)

1) บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

การขาดประสบการณ์ในการวินิจฉัยซิฟิลิสเพิ่มอัตราการติดเชื้อให้สูงขึ้น

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ แปล

      อัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นในระยะสาม-สี่ปีที่ผ่านมา แพทย์รุ่นปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหานี้มากนักเมื่อเทียบกับแพทย์รุ่นก่อนๆ ในเวปไซต์ Medscape มีบทความเกี่ยวกับการขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสทำให้อัตราการติดเชื้อสูงขึ้น อ่านต่อ >> 

อ่านบทความอื่นๆ >>

 

2) เวทีชุมชนกับงานวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์

คลังข้อมูล

data32 cover

 

         คู่มือสำหรับคนทำงานเอดส์ 360 องศา จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ที่ดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการในกลุ่มผุ้หญิง และการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลและความยั่งยืน ใน 8 จังหวัด สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม และบูรณาการการดำเนินงานด้านป้องกัน เข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการรังเกียจกีดกันในกลุ่มผู้หญิง ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์สามารถนำคู่มือฯนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงานขององค์กรได้ตามความเหมาะสม <ดาวน์โหลดคู่มือ>

  • แนวทางการการสนับสนุนงบการทำงานด้านเอดส์สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน 14-17 เมนูการทำงาน

การพัฒนาเมนูการทำงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่ดำเนินงานภายใต้งบอุดหนุนด้านเอดส์ มุ่งเน้นตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ คือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการตาย และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ คือ มุ่งให้เห็นผลลัพธ์ (Impact) ของการทำงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นสนับสนุนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีช่องว่างที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นๆ ของประเทศ

รายละเอียด 17 เมนูการทำงาน

  1. Menu 1 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์
  2. Menu 2 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์

ดูข้อมูลอื่นๆ >>

โพลหนุนเด็กต่ำกว่า ๑๘ ปีสามารถตรวจเลือดเอดส์ได้ด้วยตัวเอง


เนื่องในวันเอดส์โลก ๑ ธันวาคมนี้ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ร่วมกับเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ในประเทศไทย ๑๖ เครือข่ายและองค์กรภาคี สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้มีอายุน้อยกว่า ๑๘ ปีสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) โดยไม่ต้องรับการยินยอมจากพ่อแม่ผู้ปกครอง” จำนวน ๑,๖๓๙ คนทั่วประเทศ ในวันที่ ๒๑ – ๒๘ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

          ผลการสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ ๗๗ เห็นด้วยกับการให้ผู้ที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปีสามารถตรวจหาการติดเชื้อฯ ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยร้อยละ ๒๒.๔๒ ให้ความเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป คนในสังคมมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยไม่กล้าบอกพ่อแม่ในเรื่องเพศ และไม่ได้ป้องกันตัวเองให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อฯ ดังนั้นจึงควรให้เด็กตรวจหาเชื้อฯ ได้ และร้อยละ ๑๕.๙๔ เห็นว่า ควรให้เด็กตรวจหาเชื้อฯ เพื่อที่จะได้ป้องกันตัวเองและมีความปลอดภัยมากขึ้น

          ขณะที่ประชาชนร้อยละ ๒๓ ไม่เห็นด้วยที่จะให้เยาวชนสามารถตรวจหาเชื้อฯ ได้ด้วยตัวเอง เพราะเห็นว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงอาจตัดสินใจเองไม่ได้ ถ้ารู้ผลอาจทำอันตรายต่อชีวิตของตัวเอง ร้อยละ ๔๐.๗๘ และร้อยละ ๓๓.๓๓ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ผู้ปกครองยินยอมและรับทราบ เพื่อจะได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา

          นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เมื่อสังคมเปลี่ยนไป เด็กสามารถประเมินความเสี่ยงได้ว่าตัวเองอาจได้รับเชื้อฯ เช่น จากการรับข้อมูลมาจากการเรียนการสอนเพศศึกษา แต่การตัดสินใจของคนที่จะเข้ารับบริการ ถ้าบริการนั้นไม่เอื้ออำนวยความสะดวก เช่น ต้องไปขออนุญาตพ่อแม่ ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้ เพราะจะถูกตำหนิ ตีตราว่าไปมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร ซึ่งสิ่งนี้เป็นกำแพงใหญ่ที่ทำให้เยาวชนไม่สามารถเข้าสู่ระบบบริการได้

          “ที่รณรงค์เรื่องตรวจเลือดไม่ใช่แค่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย อาจไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะเรื่องเอชไอวีเท่านั้น  แต่อยากให้สังคมเข้าใจเรื่องสิทธิด้วย เช่น สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง ในการตัดสินใจของตัวเอง และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เยาวชนควรรับรู้จากพฤติกรรมของเขา ที่เขาต้องรับผิดชอบในเชิงพฤติกรรม หรือการรับรู้ข้อมูล และการเข้าถึงบริการ พร้อมหาทางออก” นายอภิวัฒน์กล่าว

          ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า ความกังวลใจของเขาคือ ถ้าระบบการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCCT) ของระบบสาธารณสุขยังไม่แข็งแรงพอ เช่น การให้คำปรึกษาก่อนและหลังตรวจ หากเยาวชนทราบผลเลือดว่าเป็นบวก จะมีใครอยู่เคียงข้างเยาวชน หรือการบอกพ่อแม่จะเป็นหลักประกันหรือไม่ว่าพ่อแม่จะอยู่เคียงข้างเขา อย่างไร แต่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะระบบบริการที่ต้องแข็งแรงเท่านั้น แต่หมายถึงอะไรก็ตามที่จะคอยเป็นที่ปรึกษา คอยพยุงให้เยาวชนได้รับคำปรึกษาตลอดการรักษาของเขา เช่น ระบบการให้คำปรึกษาต้องแข็งแรงพอ อย่างสายด่วนที่สามารถขอคำปรึกษาเรื่องเพศ/เอดส์ได้ตลอดเวลา และเชื่อมโยงสู่ระบบบริการได้ เป็นต้น

           ด้านนางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ให้สัมภาษณ์ว่า น่าสนใจที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี สามารถตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง ซึ่งจากเหตุผลก็สะท้อนให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจ และสนับสนุนให้เด็กเข้าถึงบริการ ซึ่งคนทำงานเอดส์เองก็พยายามผลักดันอยู่ ส่วนร้อยละ ๒๓ ที่ไม่เห็นด้วย จากเหตุผลก็เป็นความห่วงใย ซึ่งก็ดี อย่างไรก็ตามการที่จะให้เด็กเข้าถึงบริการ โดยไม่ต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครองนั้น ต้องมีมาตรการมารองรับไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบกับเด็กด้วย

          “มันไม่ใช่อยู่ๆ ก็ไปตรวจได้เลย แต่ต้องมีการให้คำปรึกษา และประเมินความพร้อมก่อน เพราะนี่คือเด็กเดินมาหาเราโดยสมัครใจ ซึ่งเราเชื่อว่าเขาได้คิด ได้ประเมินความเสี่ยงของตัวเองแล้ว และเราก็ต้องทำความเข้าใจกับคนในสังคมที่อาจยังไม่เข้าใจกระบวนการว่ามันมีการให้คำปรึกษา การประเมินความพร้อมก่อน และผลก็ต้องเป็นความลับด้วย ซึ่งคนอาจจะเข้าใจได้มากขึ้น” ผู้อำนวยการฯ กล่าว

          ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวต่อไปว่า ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องไปพูดคุยกับแพทยสภาว่าอะไรเป็นอุปสรรค และจะลดอุปสรรคเหล่านั้นลงได้อย่างไร ซึ่งถ้าแพทยสภาประกาศให้เด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีสามารถตรวจหาเชื้อฯ เองได้ จะช่วยทำให้เด็กเข้าถึงบริการ รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ของสังคมไทย โดยให้เยาวชนสามารถวางแผนป้องกันตัวเองได้ ไม่ว่าผลเลือดนั้นจะเป็นบวกหรือลบ หากเป็นลบก็ให้เป็นลบตลอดไป หรือหากเป็นบวกก็ต้องให้เข้ารับบริการได้อย่างทันท่วงที และลดการเจ็บป่วยได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

          นางสาวสุภัทรา กล่าวถึงที่มาที่ไปของการพยายามผลักดันให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีสามารถตรวจหาเชื้อฯ ได้ด้วยตัวเองว่า สถานการณ์เอดส์ในสังคมไทยมีแนวโน้มของตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปีลงมา และมีผู้ป่วยเอดส์อายุต่ำสุด ๒๐ ปี รวมถึงสถานการณ์ของสังคมเอื้ออำนวยให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น ซึ่งการรับรู้เรื่องเอดส์จากการรณรงค์ หรือการเรียนเพศศึกษาในโรงเรียนช่วยผลักดันให้เขาเกิดการตระหนักและตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งเขาก็ประเมินได้ในระดับหนึ่งว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ หรือไม่ แต่พอเยาวชนไปเข้ารับบริการก็เกิดการติดขัด เพราะผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้เนื่องจากติดข้อบังคับของแพทยสภา  

Go to top