บทความวิชาการด้าน จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NCAB)

1) บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

การขาดประสบการณ์ในการวินิจฉัยซิฟิลิสเพิ่มอัตราการติดเชื้อให้สูงขึ้น

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ แปล

      อัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นในระยะสาม-สี่ปีที่ผ่านมา แพทย์รุ่นปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหานี้มากนักเมื่อเทียบกับแพทย์รุ่นก่อนๆ ในเวปไซต์ Medscape มีบทความเกี่ยวกับการขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสทำให้อัตราการติดเชื้อสูงขึ้น อ่านต่อ >> 

อ่านบทความอื่นๆ >>

 

2) เวทีชุมชนกับงานวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์

คลังข้อมูล

data32 cover

 

         คู่มือสำหรับคนทำงานเอดส์ 360 องศา จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ที่ดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการในกลุ่มผุ้หญิง และการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลและความยั่งยืน ใน 8 จังหวัด สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม และบูรณาการการดำเนินงานด้านป้องกัน เข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการรังเกียจกีดกันในกลุ่มผู้หญิง ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์สามารถนำคู่มือฯนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงานขององค์กรได้ตามความเหมาะสม <ดาวน์โหลดคู่มือ>

  • แนวทางการการสนับสนุนงบการทำงานด้านเอดส์สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน 14-17 เมนูการทำงาน

การพัฒนาเมนูการทำงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่ดำเนินงานภายใต้งบอุดหนุนด้านเอดส์ มุ่งเน้นตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ คือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการตาย และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ คือ มุ่งให้เห็นผลลัพธ์ (Impact) ของการทำงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นสนับสนุนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีช่องว่างที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นๆ ของประเทศ

รายละเอียด 17 เมนูการทำงาน

  1. Menu 1 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์
  2. Menu 2 การทำงานส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์

ดูข้อมูลอื่นๆ >>

การสำรวจความเห็นเพื่อรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2553

คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่ ผู้มีอายุน้อยกว่า 18 ปีสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอดส์โดยไม่ต้องรับการยินยอมจากพ่อแม่ผู้ปกครอง

 

โครงการสหประชาชาติด้านเอดส์ ได้รณรงค์ “การเข้าถึง (บริการสุขภาพ) เป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนต้องได้รับ หรือ “Universal Access and Human Rights”  ภายใต้หลักการนี้ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองได้กำหนดให้บริการด้านการป้องกันและดูแลรักษาด้านเอชไอวีเอดส์ครอบคลุมในชุดสิทธิประโยชน์ รวมทั้งการรับบริการการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วย

ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงหรือไม่ได้รับบริการการปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ เนื่องมาจากทัศนคติสังคมที่ยังตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้มาขอรับบริการในเรื่องเอดส์ด้วย เพศ อายุ หรือเชื้อชาติ  เช่นกรณีของเยาวชนที่ไม่กล้ามาขอรับบริการตรวจเลือดเพราะถูกสังคมกำหนดว่า “เยาวชนยังไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร”  หรือเมื่อตัดสินใจขอรับบริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ กลับต้องติดเงื่อนไขระเบียบข้อบังคับของแพทยสภาที่กำหนดให้เยาวชนต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเสียก่อน ทำให้เยาวชนตัดสินใจไม่ไปรับบริการตรวจเลือดและสูญเสียโอกาสที่จะได้รับบริการให้คำปรึกษาและการเข้าถึงบริการด้านการป้องกันและดูแลรักษาด้านเอชไอวี

คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ร่วมกับเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ในประเทศไทย 16 เครือข่ายและองค์กรภาคี  จึงรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถตัดสินใจตรวจเลือดได้ด้วยตนเอง  ตามหลักการเคารพสิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ และสิทธิมนุษยชนของคนทุกเพศ ทุกวัย ที่มีสิทธิตัดสินใจด้วยตัวเองว่า จะเลือกดำเนินชีวิตทางเพศได้อย่างอิสระและปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์ ท้องไม่พร้อม และความรุนแรงทางเพศ โดยไม่ถูกกีดกัน ไม่ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติเมื่อไปขอรับบริการด้านสุขภาพ

สิทธิประโยชน์ในการรับบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)

ปัจจุบันระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ได้ครอบคลุมสิทธิในการเข้ารับบริการปรึกษาและตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นบริการครอบคลุมคนไทยทุกคนที่มีบัตรประชาชน ไม่ว่าคุณจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากระบบใด (ประกันสังคม ประกันเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ) ทุกคนสามารถมาขอรับบริการนี้ได้ในโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ซึ่งในชุดสิทธิประโยชน์ระบุว่า สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ หรือวีซีซีที (VCCT) ได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง หากผลเลือดเป็นบวกก็จะได้รับบริการปรึกษาเพื่อการดูแลสุขภาพโดยกลับไปรับบริการตามสิทธิรักษาพยาบาลของแต่ละคน และหากพบว่าผลเลือดเป็นลบก็จะได้รับบริการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการป้องกันให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป โดยทุกคนมีสิทธิขอรับถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกันได้ทุกคน



Go to top