สาระสำคัญในการกล่าวถึงเป้าหมายและความสำคัญของการจัดงานเทศกสลวันเอดสืโลก 2009
วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2552 ที่สวนจตุจักร กรุงเทพฯ 
ของประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.ชาติ) คุณสุภัทรา  นาคะผิว

 

กพอ.และเครือข่ายภาคประชาสังคม 14 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายคนทำงานกับเด็ก เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายศาสนา เครือข่ายชาติพันธุ์ เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายสิทธิมนุษยชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงติดเชื้อ เครือข่ายพนักงานบริการ เครือข่ายคนทำงานเพื่อพนักงานบริการ  เครือข่ายเพศศึกษา เครือข่ายกีฬาต้านเอดส์ ภายใต้การสนับสนุนของ UN family ได้แก่ UNAIDS UNDP UNICEF WHO รวมทั้ง USG  แผนงานสุขภาภาวะทางเพศ สสส. Plan International มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ พันธกิจเอดส์เชียงใหม่ ตัดสินใจมาร่วมมือกันจัดกิจกรรมเทศกาลวันเอดส์โลก ปี 2009 ด้วยเหตุผลสำคัญคือปีนี้โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติได้ประกาศคำขวัยรณรงค์วันเอดส์โลกปีนี้ว่า Universal Access and Human rights ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชน พวกเราจึงมาร่วมกันระดมสมองเพื่อช่วยกันหาว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส่งผลต่อเรื่องเอดส์ในประเทศไทยคือเรื่องอะไรบ้าง ในที่สุดเราก็เห็นร่วมกันว่า “สิทธิทางเพศ” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องหยิบยกมา รณรงค์ทางสังคม เพราะสถานการณ์เอดส์ของประเทศไทยมีความเกี่ยวพันธ์กับเรื่องเพศ และความหลากหลายของวิถีชีวิตทางเพศ หากเรายังไม่ยอมรับการเลือก ความเป็นตัวตนทางเพศของคนทุกคนในสังคม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมทั้งหากยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังในด้านการส่งเสริมความเสอภาคเท่าเทียม และการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนทุกคนในสังคม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าคนจะมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา สีผิว เพศ วัย ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม ความคิดเห็นทางการเมือง จะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศอย่างแน่นอน ที่สำคัญจะทำให้หลักการสิทธิมนุษยชน และหลักการทั่วถึง เท่าเทียม หรือหลักการ UA- Universal Access  ไม่มีทางเป็นจริงได

ภาคประชาสังคมจึงเริ่มที่จะรณรงค์ทางสังคมในประเด็นสิทธิทางเพศ โดยเริ่มในช่วงที่มีการรณรงค์วันเอดส์โลก และจะรณรงค์ต่อเนื่องไปตลอดปี 2553 โดยมีประเด็นการรณรงค์ว่า

สิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ คือสิทธิมนุษยชน : เคารพ เข้าใจ ปลอดภัย เป็นสุข

สิทธิทางเพศ คือ การที่คนทุกคนสามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตทางเพศของตนเองได้ โดยไม่ถูกกดดัน เมื่อเลือกแล้วก็ได้รับความเคารพ ไม่ถูกตัดสินคุณค่า สังคมมีความเข้าใจ ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของเรื่องเพส วิถีชีวิตทางเพศ ทุกคนสามารถเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาได้ ทุกคนมีความปลอดภัยในเพศวิถีที่ตนเองเลือก ปราศจากความรุนแรง และทุกคนมีความสุขในสิ่งที่เลือก ที่เป็นสิทธิด้านเอดส์ คือสิ่งที่ทั้งผู้มีเชื้อเอชไอวีและไม่มีเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องได้รับ เพื่อให้สามารถมีชีวิตรอด มีการพัฒนาและมีคุรภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสิทธิที่สำคัญที่สุดในขณะนี้สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือสิทธิในการมีงานทำ และสิทธิในการศึกษา

โดยภาคประชาสังคมเห็นว่าเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องดำเนินการในทันทีคือ

  1. เราอยากเห็นโครงการถุงยางอนามัยแห่งชาติ หรือ Condom for all โดยรัฐบาลจัดให้มีถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรี และสารหล่อลื่น ที่เพียงพอกับความต้องการของทุกคนในสังคม และต้องเข้าถึงได้ง่าย มีการสร้างความเข้าใจใหม่ว่าถุงยางอนามัยเป้นอุปกรณืสุขภาพ ที่ใช้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอดส์ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และป้องกันการตั้งท้องไม่พร้อม
  2. เราอยากเห็นรัฐบาลประกาศนโยบายลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด หรือ Harm Reduction มีบริการด้านการป้องกันเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดแบบรอบด้านหรือ Comprehensive Harm Reduction  คือมีบริการแลกเข็มและกระบอกฉีดยาสะอาด บริการสารทดแทนเมธาโดนระยะยาว(MMT) บริการถุงยางอนามัย บริการข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ทั้งการป้องกันและการดูแลรักษาผ่านศูนย์บริการที่เป็นมิตร(Drop in center) บริการให้คำปรึกษา บริการ ตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจหรือ VCT
  3. เราอยากเห็นการดูแลแรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มคนที่ไม่ใช่คนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี  รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อทุกคนได้รับยาต้านไวรัสเพื่อลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก โดยขยายสิทธิประโยชน์ในบัตรประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติให้ครอบคลุมถึงยาต้านไวรัสเอดส์ และมีระบบสุขภาพรองรับกลุ่มคนที่ไม่มีสัญชาติไทย

นอกจากกิจกรรมเทศกสลวันเอดส์โลกที่จัดในวันนี้แล้ว  กพอ.และเครือข่ายภาคประชาสังคมยังมีการทำกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องเอดส์ให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ที่เราเรียกกันว่ากิจกรรม “ดาวกระจาย” โดยมีการณรงค์ 4 จุดคือ 

  • สถานีขนส่งหมอชิต โดยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายสิทธิมนุษยชนกับเอชไอวี/เอดส์ และเครือข่ายผู้หญิงติดเชื้อ
  • สถานีรถไฟหัวลำโพง โดยเครือข่ายคนทำงานเพื่อพนักงานบริการ
  • ลานในศูนย์การค้าสยาม(เซ็นเตอร์พ้อยท์เดิม) โดยเครือข่ายเยาวชน เครือข่ายเพศศึกษา เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ
  • ตลาดนัดสวนจตุจักร โดยเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายศาสนา และเครือข่ายชาติพันธุ์

นอกจากการณรงค์สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์แล้ว ยังมีการการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่าประเด็นสิทธิทางเพศที่ประชาชนเห็นว่าเร่งด่วนต้องดำเนินการ 3 ประเด็นคืออะไร เพื่อนำมาประกอบการวางแผนการรณรงค์ทางสังคมและการผลักดันนโยบายในเรื่องสิทธิทางเพศต่อไป โดยมีการสำรวจ 2 แบบคือ การติดสตีกเกอร์บนกระดาน จำนวน 800 คน(จุดละ 200 คน) และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1,200 ชุด (จุดละ 300 ชุด)  ผลการสำรวจปรากฎว่าประเด้นสิทธิทางเพศที่ประชาชนเห็นว่าเร่งด่วน 3 ประเด็นคือ

  1. เด็กและเยาวชนควรได้เรียนรู้เรื่องเพศ
  2. เพสสัมพันธ์ก่อนแต่งงานใคร ๆ ก็มีได้
  3. ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้

ส่วนอันดับ 4 คือ คนเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ อันดับที่ 5 งานบริการทางเพศคืออาชีพ อันดับที่ 6 ติดเชื้อเอชไอวีก็ท้องได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้พวกเราจะนำมาใช้ในการวางแผนการทำงานในปีหน้าต่อไป

สุดท้ายขอขอบคุณพี่น้องทุกเครือข่าย ทุกคน ที่ได้ช่วยกันทำให้งานเทศกาลวันเอดส์โลก และงานรณรงค์ ดาวกระจาย การสำรวจความคิดเห็นต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รวมทั้งขอขอบคุณ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุกหน่วยงาน พวกเรายังต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์ในสังคมไทยต่อไป ไม่เพียงสองวันนี้เท่านั้น นี่คือสัญญาของเรา

ขอบคุณค่ะ

สุภัทรา  นาคะผิว
ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.ชาติ)

Go to top