1) บทความที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ข่าวดีสำหรับผู้หญิง: เพร็พออกฤทธิ์นานอาจใช้ได้ทุกสามเดือน
โดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อเอชไอวีมากกว่าผู้ชายทั้งเพราะเหตุผลทางสรีระและเหตุผลทางด้านสังคม-วัฒนธรรม เช่น ช่องทางการรับเชื้อที่มากกว่า การเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอม (microbiome หรือชุมชนจุลชีพ) ในช่องคลอดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อเอชไอวีสำหรับผู้หญิง ค่านิยมทางสังคม-วัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคทำให้ผู้หญิงโดยเฉพาะหญิงอายุน้อยเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ชาย และทางเลือกเกี่ยวกับวิธีหรือผลิตภัณฑ์ในการป้องกันเอชไอวีที่มีน้อยกว่าหรือที่มีประสิทธิผลไม่ดีเท่ากับผู้ชาย อ่านต่อ >>
2) เวทีชุมชนกับงานวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์
คู่มือสำหรับคนทำงานเอดส์ 360 องศา จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ที่ดำเนินโครงการส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการในกลุ่มผุ้หญิง และการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลและความยั่งยืน ใน 8 จังหวัด สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม และบูรณาการการดำเนินงานด้านป้องกัน เข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการรังเกียจกีดกันในกลุ่มผู้หญิง ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์สามารถนำคู่มือฯนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงานขององค์กรได้ตามความเหมาะสม <ดาวน์โหลดคู่มือ>
การพัฒนาเมนูการทำงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่ดำเนินงานภายใต้งบอุดหนุนด้านเอดส์ มุ่งเน้นตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ คือ ลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดอัตราการตาย และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีหลักการ คือ มุ่งให้เห็นผลลัพธ์ (Impact) ของการทำงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นสนับสนุนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีช่องว่างที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นๆ ของประเทศ
รายละเอียด 17 เมนูการทำงาน
>> วันเอดส์โลก 2019 <<